วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รำลึกแดนพุทธภูมิครั้งแรกในมุมมองของผู้เขียน ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒

เช้าวันที่ ๗ ของการเดินทาง ๑๑ มี ค. ๕๒ (พุทธคยา) ตื่นนอน / หลังอาหารเช้า พาคณะทัวร์ ชมวัดพุทธนานาชาติ ในบริเวณพุทธคยา เช่น วัดญี่ปุ่น, วัดธิเบต, วัดภูฐาน, ฯลฯ ซึ่งสร้างตามเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมของแต่ละชาติ เป็นต้น
       กลับมาทานอาหารกลางวันที่โรงแรม รอบบ่ายพาช้อบปิ้งสินค้า ในเมืองพุทธคยา เช่น ร้านขายผ้า.... ร้านขายของที่ระลึก บริเวณหน้าปริมณฑลของเจดีย์พุทธคยา และเข้ากราบไหว้อำลาพระพุทธเมตตราพระมหาเจดีย์พุทธคยาและต้นพระศรีมหาโพธิ์อีกครั้ง

 พระพุทธเมตราภาพนี้ถ่ายได้งามมากค่ะ
 วันนี้มีดอกไม้บูชารอบปริมลฑลมหาเจดีย์พุทธคยา

 นั่งกราบ ไหว้ลาพระศรีมหาโพธิ์

        ผู้เขียนก็ได้ชาอินเดีย(ให้คนคูแลประจำรถทัวร์ชาวอินเดียซื้อให้ มีเมล็ดสมุนไพรที่ใช้สำหรับใส่ชาให้หอมมาด้วย)
และพาไปซื้อผ้ากลับมาเป็นของฝากและใช้เองพอสมควร

(ผ้าที่เก็บไว้ใช้เองค่ะ ไม่รวมของฝากที่แจกจ่ายไปแล้ว)

  และได้มินท์สระแหน่มาหนึ่งแพ็ค
กระเทียมแคปซูลสำหรับลดไขมันอีก ๒ กล่อง

       โดยมีน้องๆแอร์จากการบินไทยในทัวร์ชุดนี้เป็นผู้ช่วยในการซื้อหาในแต่ละครั้งช้อบปิ้งสินค้ากันจนเย็นจึงกลับที่พัก ก็เตรียมเก็บและจัดของลงกระเป๋าเดินทางให้เรียบร้อย แล้วจึงลงมาทานอาหารเย็น
      
 
ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ค่ะภาคกลางคืน ในกลดที่เตรียมไปจากเมืองไทย
 นั่งสมาธิบ้างเดินรอบเจดีย์พุทธคยาบ้างภาพกลางคืนค่ะ
เดินบ้าง นั่งบ้าง เผลอหลับบ้างจนสว่าง
      
       เนื่องจากมีรายการพิเศษสำหรับคนที่ต้องการไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในภาคกลางคืน ที่ต้องอยู่จนถึงเช้า มีเวลาปิดและเปิดสถานที่ ระหว่างเวลา ๒๑.๐๐ น. - ๐๕.๐๐ น.(ต้องเสียเงินค่าเบิกทางสะดวก คนละ ๑๐๐ บาทไทย ให้ชุดเจ้าหน้าที่เฝ้าปริมณฑลของต้นพระศรีมหาโพธิ์ และพระมหาเจดีย์พุทธคยา) หัวหน้าทัวร์เก็บ และจัดการให้ เวลาเข้าจะนับหัวเลยค่ะ สำหรับคนที่ไปภาคกลางคืน ต่างเตรียมกรด ผ้ารองนั่ง ไฟฉาย กระดาษ น้ำขวด ยาประจำตัว มากันเรียบร้อยแล้วจากเมืองไทย มีผู้ไปภาคกลางคืนประมาณ เกือบ ๒๐ คน ผู้เล่าไม่พลาดอยู่แล้ว (ก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้มาอินเดียอีกหรือเปล่า ชีวิตเป็นของไม่แน่ มีแต่ความตายเป็นของแน่ เคยได้ยินจากพุทธพจน์ และไม่มีใครรู้นอกจากพระอรหันต์ว่าความตายจะมาถึงตัวเองเมื่อไร) มีชาวพุทธต่างชาติอีกมากพอสมควร ที่อยู่ปฏิบัติกลางคืน พอได้เวลาปิด ยามก็เป่านกหวีดไล่ผู้ที่ไม่เสียเงิน และออกเดินเช็คจำนวนผู้อยู่ปฏิบัติ

       สำหรับผู้เล่านั่งสมาธิไม่นิ่งเลยค่ะ แถมมีนั่งสัปหงกหลายครั้ง พอไม่ไหวก็จะชวนคนข้างๆออกไปเข้าห้องน้ำ(อยู่ไกลมาก)เมื่อกลับมา ก็เปลี่ยนเป็นเดินจงกรมรอบพระมหาเจดีย์บ้าง สลับกันไปมา จนง่วงมาก ทนไม่ไหวก็เอนหลับไปในกรดนั่นแหละค่ะ มาสะดุ้งตื่นก็จากเสียงนกหวีดดัง ตอนตีห้าค่ะ ยามเดินมาบอกให้ออกได้แล้ว เดี๋ยวจะมีพนักงานมาทำความสะอาดเพื่อเตรียมถึงเวลา เปิดบริการเข้าชมปริมณฑลของต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระมหาเจดีย์พุทธคยาแล้ว  เราก็พากันเก็บของเดินออกมาหน้าประตูใหญ่ รถมารอรับกลับที่พักอยู่แล้วค่ะ

รำลึกแดนพุทธภูมิครั้งแรกในมุมมองของผู้เขียน ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒




เช้าวันที่ ๘ ของการเดินทาง ๑๒ มี ค. ๕๒ (พุทธคยา-กรุงเทพฯ)
กลับมาจาก "ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระมหาเจดีย์พุทธคยาแล้ว" ถึงโรงแรมที่พัก เวลา ๐๖.๐๐ น.

 เก็บภาพระหว่างทางกลับค่ะ


        อาบน้ำแต่งตัว เตรียมยกกระเป๋ามาวางหน้าห้อง ลงมาทานอาหารเช้าเวลา ๐๗.๐๐ น.
เวลา ๐๙.๓ ๐ น.คณะทัวร์พร้อมออกเดินทางไปสนามบินคะยา  ตรวจหนังสือเดินทางและกระเป๋า
เวลา ๑๒.๐ ๐ น.สายการบินไทยอินเตอร์ เที่ยวบินTG 8820ออกจากสนามบิน คะยา-กรุงเทพฯ
เวลา ๑๖.๐ ๐ น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยความปลอดภัย ตามเวลาประเทศไทย

จบการเดินทาง สู่แดนพุทธภูมิ
อินเดีย เนปาล ของผู้เขียน ๕๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒ (๘ วัน ๗ คืน)
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

โปรดรอติดตาม

 ท่องแดนพุทธภูมิ   อินเดีย – เนปาล
ระหว่างว้นที่ ๑๙-๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ รอบสอง เร็วๆนี้อีกครั้ง

รำลึกแดนพุทธภูมิครั้งแรกในมุมมองของผู้เขียน ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒

เช้าวันที่ ๖ ของการเดินทาง ๑๐ มี ค. ๕๒ (พาราณสี - พุทธคยา)
ตื่นนอน เวลา๐๕.๓๐ น.แล้วขึ้นรถไป แม่น้ำคงคามหานที เมื่อถึงแล้วยังมืดอยู่เลยค่ะลงจากรถต้องใช้ไฟฉายส่งทาง กลัวเหยียบกลับระเบิดเดินหลบหลีกผู้คนมากมาย พากันมาลงเรือ ชมความหลากหลายของพิธีการพระสุริยเทพ พิธีอาบน้ำล้างบาปตามความเชื่อของศาสนาพรามณ์-ฮินดู พิธีเผาศพแบบดั้งเดิม ณ บริเวณแม่น้ำคงคามหานที มีคำกล่าวว่า ไฟไม่เคยดับ เป็นเวลานานกว่า 4,000 ปี ทุกคนต่างเก็บภาพไว้ในโอกาสที่ได้มาถึงแม่น้ำคงคา มีเรือมาขายกระทง เพื่อบวงสรวงพระแม่คงคา หรือปล่อยปลา ลงสูแม่น้ำคงคา ก็ได้มีเรือพายมาขายของที่ระลึกด้วย ผู้เล่ายังซื้อ ขวดแก้วเล็กๆ ที่ใช้ใส่น้ำแม่น้ำคงคาที่คนอินเดียถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่ได้ใส่น้ำมาค่ะคือเห็นขวดแล้วชอบใจ เป็น 2 ขวดคู่ ใช้กดโยกขึ้นลงให้น้ำเข้าหรือปล่อยน้ำออก ราคาก็จำไม่ได้น่าจะ 100 รูปีนะ เพราะแลกเงินมามีแต่ใบ 100 รูปีและ 500 รูปีเท่านั้น (ไม่ทนเลยค่ะกลับเมืองไทย โยกเล่นไม่กี่ครั้ง ก็ดึงน้ำเข้าออกไม่ได้แล้ว)



       ขึ้นจากเรือถ่ายภาพติดโยคี ซะหน่อย

 กำลังขึ้นจากเรือ

บริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
        ขึ้นรถกลับไปทานอาหารเช้าที่โรงแรมค่ะ เวลาประมาณ 08.00  หลังอาหารขึ้นห้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดใหม่

 ลงมาระหว่างรอคณะ ถ่ายภาพกลับพนักงานโรงแรมและเพื่อนร่วมห้องค่ะ
ออกเดินทาง เวลาประมาณ 09.30 ขึ้นรถ ออกเดินทางไปที่ตั้งป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นที่แสวงบุญ
ที่สำคัญ ลำดับที่ 3 ใน 4 สังเวชนียสถาน (ประสูติ, ตรัสรู้, แสดงปฐมเทศนา, และปรินิพพาน)
มีธัมเมกขสถูป ตั้งอยู่ ณ ที่ซึ่งพระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนา ย่านสารนาถ




ยังเข้าไปปิดทองกันได้ค่ะ

ล่างกุฏิสถานที่พระพุทธองค์เคยจำพรรษาที่นี่หลายครั้ง



 เสาพระเจ้าอโศก

       ธัมเมกขสถูปที่ตั้งอยู่ ณ ซึ่งพระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนา นั่งสวดมนต์และปฏิบัติบูชา
ร่วมกันเดินประทักษิณาทานรอบ
องค์ธัมเมกขสถูป ๓ รอบ

 


        ถ่ายภาพที่ระลึกมุมสวยๆ ที่ธัมเมกขสถูป ที่ซึ่งพระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนา เวลาพอสมควรกลับที่พักทานอาหารกลางวัน เก็บสัมพาระออกเดินทาง สู่เมืองพุทธคยา ถึงเมืองพุทธคยา เวลาประมาณ หนึ่งทุ่ม เข้าพักที่โรงแรม Delta (สรุปพักโรงแรม Delta เดิมๆ ถึง ๕ คืน) ทานอาหารเย็นและพักผ่อน




วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รำลึกแดนพุทธภูมิครั้งแรกในมุมมองของผู้เขียน ๙ มีนาคม ๒๕๕๒

       เช้าวันที่ ๕ ของการเดินทาง ๙ มี ค. ๕๒ (พุทธคยา-ราชคฤห์-นาลันทา) ตื่นนอน ๐๖.๐๐ น.อาบน้ำเตรียมกระเป๋ามาวางหน้าห้อง ลงมาทานอาหารเช้าเวลา ๐๗.๐๐ น. เมื่อออกเดินทางต่อไป (บริษัททัวร์อินเดียส่งรถมาเปลี่ยน ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว) เมืองราชคฤห์ ชมวัดเวฬุวัน วัดแห่งแรกในในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย เป็นสถานที่พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าบรรพชาให้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย จึงถือเป็นที่เกิดของ “วันมาฆบูชา” เป็นวัดที่พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาถึง ๑๙ พรรษา ผ่าน ตโปธารน้ำแร่ร้อน สายน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากเขาเวภาระ ตามความเชื่อของชาวฮินดูว่าเป็นน้ำที่รักษาโรคได้ ทุกวันมีชาวเมืองใกล้ ไกลมาอาบน้ำกันไม่ขาดสาย และมีที่อาบน้ำแบ่งตามชั้นวรรณะของแต่ละคน ได้แต่ผ่าน ไม่ได้เข้าไปชมเวลาไม่พอเดี๋ยวพระไม่ทันฉันอาหารเพล
      จากนั้นพาไป “สักการะหลวงพ่อองค์ดำ” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่แกะสลักด้วยหินแกรนิตสีดำ เดิม
พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ในมหาวิทยาลัยนาลันทา เมื่อมหาวิทยาลัยฯ ถูกทำลาย พระพุทธรูปองค์นี้ยังคงอยู่ได้สมบูรณ์ กว่า ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว ชาวพุทธจากทั่วโลกเมื่อมาแสวงบุญ ๔ สังเวชนียสถาน ก็ขาดไม่ได้ที่จะมา “สักการะหลวงพ่อองค์ดำ” ด้วยศรัทธา
       จากนั้นเดินทางไปรับประทานอาหารกลางวัน ที่วัดไทยศิริราชคฤห์ และร่วมกันถวายผ้าป่าตามกำลังศรัทธา
คณะทัวร์พักทานอาหารกลางวันที่ ”วัดไทยศิริราชคฤห์” และทอดผ้าป่า ถ่ายภาพร่วมกัน
       ที่วัดมีรูปปั้น ของหมอชีวกโกมารทัศน์ ให้เป็นที่ระลึกคนละ ๑ ถ้าใครจะบูชารูปปั้น ของหมอชีวกโกมารทัศน์ไปเป็นของฝากญาติมิตรที่เมืองไทยก็ได้ และวัดไทยศิริราชคฤห์  เป็นวัดที่พระวิทยากรพำนักอยู่
เมื่อพร้อมกันแล้วขึ้นรถเดินทางไป เขาคิชกูฎ เพื่อนมัสการกุฏิพระพุทธองค์ที่บนยอดเขา และ นมัสการกุฏิพระอานนท์ ถ้ำพระโมคคัลลานะ ถ้ำสุกรขาตาสถานที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ และที่พระเทวทัตกลิ้งหินใส่พระพุทธองค์ นั่งปฏิบัติบูชาและเดินประทักษิณาทานรอบกุฏิพระพุทธองค์ ๓ รอบ
ลงจากเขาคิชกูฎ (ไม่ได้เข้าชมมหาวิทยาลัยนาลันทา เวลาไม่พอได้แค่ผ่าน)
       เดินทางต่อไป ยังเมืองพาราณสี แวะพักดื่ม”จาย”ร้านข้างทางที่เป็นเหมือนสถานที่พักการเดินทาง ระหว่างเมืองต่อเมืองเป็นตลาดเล็กๆ แต่มีผู้คนแวะมากพอควรน้องๆที่เป็นแอร์เดินแจกมินท์ (สระแหน่ แคปซูล)ให้คนละเม็ด อมแล้วต้องรีบกลืนถ้ารอจนแตกก่อนละก็ซ่าจืดสุดใจละ
       มีห้องน้ำสำหรับสตรีด้วย ผู้เล่าเดินมารอคิวเข้าห้องน้ำที่พอจะเข้าได้ เดินมากัน ๒-๓ คนรอเข้าห้องน้ำ เจอสาวงามอินเดีย ๒ คนที่หน้าห้องน้ำสวยจริงๆค่ะได้ถ่ายรูปกันไว้ น้องๆแอร์สอบถามได้ความว่าเป็นหมอค่ะ และยังแลกเมลกันไว้ สาวงามมีพี่ชายหรือแฟนก็ไม่รู้มาด้วย (ตัวจริงสวยกว่าภาพถ่ายมากค่ะ)

 


       เป็นการเดินทางที่นั่งรถยาวนานมาก การพักจอดรถทำธุระส่วนตัวระหว่างทาง ไม่สะดวกนักส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีป่าแล้ว เป็นที่โล่งๆ สุภาพสตรีจะลำบากนิดหน่อย ต้องเตรียมผ้าถุงไปผลัดเปลี่ยนด้วย ถ้าใครจะไปนมัสการ ๔ สังเวชฯ สำหรับผู้หญิงแนะนำให้ใส่กระโปรงยาวๆ สะดวกกว่าค่ะ ถึงเมืองพาราณสีค่ำมากแล้ว เข้าพักที่โรงแรม Suraphi Internationl ทานอาหารเย็นแล้วเข้าห้องพักผ่อนค่ะ